Power Distribution with Voltage & AMP Meter + Surge Protection เป็นผลิตภัณฑ์ภายใต้เครื่องหมายการค้าของคนไทย Corecasys (ประกอบชิ้นส่วนต่างๆ ในไทย) - ติดตั้งกับตู้ Rack 19" ได้ทุกยี่ห้อ - มีสวิทซ์ พร้อมไฟแสดงสถานะการทำงาน - Digital Meter (Voltage & Amp) ดูง่ายด้วยเลข Digital 4 หลัก - 6 Outlet ทนกระแสไฟได้ 15A, 220v - สายไฟขนาด 1.5mm 3 Core ยาว 2 เมตร - เต้ารับแบบ 3 ขา (Universal Type) เสียบได้กับปลั๊กเกือบทุกแบบ ระบบเน็ตเวิร์ค จะดีไม่ได้ หากการจ่ายไฟไม่ได้มาตรฐาน คุณเคยเจอเหตุการณ์เหล่านี้บ้างไหม - เวลาไฟตก ไฟดับแป๊บนึง แล้วระบบรวน - เวลาไฟดับแล้ว UPS สำรองไฟได้ไม่นาน - เวลาใช้ระบบไปเรื่อยๆ เกิดอาการ ระบบ Hang โดยไม่ทราบสาเหตุ สาเหตุเหล่านี้ เกิดจากสภาวะแวดล้อมที่เรามองไม่เห็น จากประสบการณ์ของผมนั้น ระบบไฟฟ้าในประเทศไทยยังไม่ได้มาตรฐานอยู่มาก เช่นระบบไฟฟ้าในหมู่บ้านที่มีความหนาแน่นสูง เช่นในตลาด ในชุมชนแออัด บางทีจ่ายไฟจ่ายไฟไม่ถึง 220v ก็มี และระบบไฟบางที จ่ายไฟมาเกินกว่า 220v ก็มี ซึ่งเป็นอันตรายกับเครื่องใช้ไฟฟ้าเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอุปกรณ์ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ การจ่ายไฟที่ไม่เต็ม 220v ก็ทำให้เสียรภาพของอุปกรณ์ด้อยลง และการจ่ายไฟเกินกว่า 220v เวลาไฟกระชาก ก็จะทำให้อุปกรณ์เสียหาย ผู้เขียนเคยสังเกตง่ายๆ จากการเดินกล้องวงจรปิด เมื่อก่อน ผู้เขียนเดินกล้องวงจรปิดไปยังจุดต่างๆ โดยเสียบปลั๊กของกล้องวงจรปิดเข้ากับปลั๊กไฟตามจุดต่างๆ กล้องมักจะติดบ้าง ดับบ้าง เปลี่ยนกล้องก็แล้ว ย้ำหัวใหม่ก็แล้ว เปลี่ยน Adapter ก็แล้ว ทำยังไงก็แก้ไม่หาย แต่พอเอาปลั๊กกล้องวงจรปิด พ่วงมาต่อที่ UPS แกนกลาง พบว่าเสถียรภาพของตัวกล้องวงจรปิด ดีขึ้นกว่าเดิมเป็นอย่างมาก และแทบจะไม่มีอาการกล้องค้างเลย แม้จะเปิดเป็นเวลาหลายเดือน หรือเป็นปีก็ตาม ทำไมเราจึงต้องรู้ VOLT และ AMP Volt คือกระแสความแรงของกำลังไฟฟ้า ส่วน AMP เป็นค่าวัดปริมาณไฟฟ้าที่ใช้ไป หากเรารู้สองค่านี้ เราสามารถคำนวณไปถึงกำลัง WATT/VA ของ UPS และขนาด UPS ที่เหมาะสมได้ นอกจากนั้น หากเรารู้ค่า AMP ของแต่ละอุปกรณ์ เรายังสามารถเกลี่ยโหลดการจ่ายไฟ ไปยัง Outlet ที่เหมาะสมได้ และมากขึ้นไปอีก เราสามารถออกแบบระบบ Datacenter ภายในบ้าน หรือ Home Office ได้อย่างมีประสิทธิภาพได้เลย และสามารถ คำนวณกำลังของเครื่องปั่นไฟได้อย่างถูกต้อง หลักการคำนวณค่าจาก VOLT / AMP ง่ายๆ VOLT x AMP = VA หรือ WATT นั่นเอง ทีนี้เมื่อเรารู้ปริมาณ WAT หรือ VA ที่ใช้งานจริงแล้ว เราก็นำค่านี้ มาเลือกซื้อรุ่นของ UPS/เครื่องปั่นไฟที่เหมาะสม หรือหากในตู้ Rack มี UPS หลายตัว ก็ให้เกลี่ยโหลดให้อุปกรณ์ต่างๆ เสียบกับ UPS ให้ถูกต้อง โดยให้ UPS แต่ละตัวรับโหลดที่เหมาะสม เพื่อให้สำรองไฟได้เต็มประสิทธิภาพ จากประสบการณ์ของผู้เขียนนั้น อย่าเชื่อค่า VA ที่มากับ UPS มากนัก เพราะแทบจะไม่มี UPS ยี่ห้อไหนเลยที่มีค่า VA ตรงตามมาตรฐาน (มันเป็นค่าในอุดมคติ ไม่มีอยู่จริง) โดยปกติแล้ว ค่า VA ที่ระบุไว้ที่ UPS นั้น ให้นำมาคูณด้วย 0.6 ก็จะได้ค่า VA ที่แท้จริง ..... ลองดูตัวอย่างตาราง VA/Watt ของ UPS Leonic ครับ จากตารางตัวอย่าง UPS ของ Leonic ยกตัวอย่างรุ่น USC1600 จะเห็นได้ว่า แม้ว่าค่า VA จะระบุไว้ว่ารองรับการจ่ายไฟที่ 1600VA แต่ค่า WATT ระบุไว้เพียง 960W เท่านั้น ซึ่งจากการสอบถาม และได้ใช้งานจริงพบว่า UPS Leonic จะบอกค่า VA ไว้เกิน แต่ค่า WAT นั้นเป็นกำลังไฟที่แท้จริงที่จ่ายไฟออกมา โดยการคำนวณค่า WATT นั้นจะเอา 0.6 x VA ..... ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะการจ่ายไฟไปยังอุปกรณ์คอมพิวเตอร์นั้น จะสูญเสียค่ากระแสไปกับความร้อน สายต่างๆ พอควร แต่เอาเป็นว่า หากต้องการซื้อ UPS ให้ตรงรุ่นแล้ว ให้เอาค่า WATT เป็นค่าอ้างอิงจะเหมาะสมที่สุด (ข้อมูลนี้เฉพาะสำหรับการคำนวณกับ UPS Leonic เท่านั้น) จุดเด่นของ UPS Leonic นั้นจะอยู่ตรงที่ สามารถแยก UPS Controller ออกมาต่างหาก และเชื่อมต่อกับตัวแบตเตอรี่ตามขนาดที่เราต้องการได้ ซึ่งเมื่อเราทราบว่า กำลังไฟที่เราใช้ เหมาะกับ UPS รุ่นไหนแล้ว เราสามารถสั่งประกอบแบตเตอรี่แยกออกมา เพื่อให้สำรองไฟได้ตามระยะเวลาที่เราต้องการได้ ไม่ต้องไปเสียเงินซื้อ UPS รุ่นใหญ่ๆ โดยไม่จำเป็น..... น่าชื่นชมนะครับ โดยส่วนตัวผมแล้ว ผมไม่มีส่วนได้ส่วนเสียอะไรกับ UPS ยี่ห้อนี้ แต่ทแนะนำยี่ห้อนี้ก็ตรงที่ เป็นเบรนด์ของคนไทย เจ้าของแบรนด์ก็เป็นของคนไทย ผมรู้จักกับคนขายของเก่าที่ประเทศออสเตรเลีย พอเห็น UPS Leonic ที่วางขายอยู่ ก็เลยลองสอบถามราคาดู พบว่า UPS Leonic จะขายได้ราคาเสมอ นั่นก็แปลว่า UPS ยี่ห้อนี้เป็นที่ยอมรับในประเทศออสเตรเลียเช่นกัน