|
|
|
|
|
ชุดอุปกรณ์ VPN แบบติดตั้งเอง |
ค่าบริการ Fix IP Anywhere ปีแรก |
ค่าอุปกรณ์ VPN |
ค่าบริการปีถัดไป |
รองรับ 10-15 users |
10,800 (50/50 mbps.) + Converter 2,000 |
5,500 (Core 750GL) |
10,800 บาท |
รองรับ 40-50 users |
18,000 (80/80 mbps.) + Converter 2,000 |
9,500 (Core 450G) |
18,000 บาท |
รองรับ 70-80 users |
24,000 (150/100 mbps.) + Converter 2,000 |
13,500 (Core 4011) |
24,000 บาท |
รองรับ 90-120 users |
32,400 (300/300 mbps.) + Converter 5,500 |
13,500 (Core 4011) |
32,400 บาท |
รองรับมากกว่า 120 users |
45,600 (500/500 mbps.) + Converter 9,500 |
55,000 (Core 7920+) |
45,600 บาท |
|
|
- ชุดอุปกรณ์ VPN Set ดังกล่าวข้างต้น ติดตั้งได้กับ Network ทุกรูปแบบ |
- รองรับ VPN กับอุปกรณ์ทุก Platform เช่น iOS, Android, Windows, PC, Notebook |
- ระบบ VPN ไม่ติด Block จาก 4G ทุกเครือข่ายทุกค่าย (รองรับ Open VPN) |
- Fix IP สามารถ Forward Port ไปยัง Server หรืออุปกรณ์อื่นๆ เพื่อให้ Remote จากภายนอกได้อย่างแม่นยำ |
- ค่าอุปกรณ์ Fix IP Anywhere (Firewall Converter) 2,000 บาท รับประกันตลอดอายุการใช้งาน |
- ค่าบริการ Fix IP Anywhere ดูได้ที่ลิงค์นี้ https://corecasys.com/fix-ip.php#costfix |
- ลูกค้าสามารถเพิ่ม Extra IP Abroad ในต่างประเทศ อัก 10 ประเทศ ตาม List ด้านล่างนี้ (กรุณาสอบถามเพิ่มเติมรายประเทศที่สนใจ) |
|
|
|
|
|
|
|
|
Extra IP Abroad จ่ายเพิ่มเติมจากค่าบริการ Fix IP Anywhere ค่าบริการปีแรก ปีละ 25,000 บาท (ปีถัดไป ลด 50%) |
|
(1) สามารถใช้ Extra IP Abroad นี้ในการปักตะกร้าขายสินค้าผ่าน Tiktok, Facebook ในต่างประเทศได้ |
|
(2) สามารถแชร์ International Gateway (Extra IP Abroad) ผ่านระบบ VPN ได้ |
|
(3) สามารถใช้งานเป็น second gateway เพื่อวิ่งไปยัง IP ปลายทางต่างๆ ที่มีปัญหา (เหมาะสำหรับองค์กรขนาดใหญ่) |
|
|
บริการเสริม DHCP Public IPv6 |
รายละเอียด |
ค่าบริการรายปี |
IPv6 (4094 IP) |
500 บาท |
DHCP IPv6 /64 (18 ล้านๆ IP) |
2,000 บาท |
|
|
|
|
|
|
|
|
ใบอนุญาติ กสทช. ครอบคลุมการให้บริการ VPN, VOIP, WiFi, Server Co-Location |
|
|
|
|
|
ปัจจุบัน ธุรกิจต่างๆ มีการขยายสาขาออกไปยังจังหวัดต่างๆ Concept ของ VPN นั้นคือการเชื่อมโยงเครือข่ายจากฝั่งหนึ่ง ไปยังเครือข่ายอีกฝั่งโดย โดยใช้สายสัญญาณอินเตอร์เน็ตที่มีอยู่ โดยในการเชื่อมโยงนั้น Router หรือ Server จะสร้างท่อจำลองเสมือนขึ้นมา 1 ท่อ หรือเรียกว่า Tunnel ซึ่งเมื่อเชื่อมโยง VPN ถึงกันแล้ว เครื่องลูกข่าย หรือไซต์งานต่างๆ ที่เชื่อมโยงเข้ามา จะสามารถเห็นทรัพยากรทางฝั่งสำนักงานใหญ่ได้หมด เสมือนอยู่เน็ตเวิร์ควงเดียวกัน ดังนั้นจึงสามารถใช้ทรัพยากรต่างๆ ที่สำนักงานใหญ่ได้เช่น Database, File Server, Printer ฯลฯ |
|
ลักษณะการเชื่อมโยงเครือข่ายนั้นแบ่งออกได้ 2 แบบคือ |
|
1. การเชื่อมโยงแบบ Client to Site |
|
2. การเชื่อมโยงแบบ Site to Site (Lan to Lan) |
|
การเชื่อมโยงแบบ Client to Site |
|
การเชื่อมโยงในลักษณะนี้คือการที่เครื่องลูกข่าย, PC, Client อยู่ภายนอกระบบ ไม่ว่าจะเป็นที่ไหนก็ตาม หากสามารถใช้งานอินเตอร์เน็ต ก็สามารถใช้งานอินเตอร์เน็ตที่มีอยู่ เชื่อมโยงจากเครื่องลูกข่าย มายัง VPN Server หรือ VPN Router ได้ ซึ่งหลังจากเชื่อมโยงมาแล้ว เครื่องลูกข่ายเครื่องนั้นจะสามารถ ใช้งานทรัพยากรที่อยู่ฝั่ง Network เดียวกับ VPN Server ได้ทุกอย่าง แต่จะสามารถใช้ได้เพียงเครื่องเดียวเท่านั้น คือเครื่อง Client เครื่องนั้นๆ ที่เชื่อมต่อเข้ามา ข้อจำกัดชองการเชื่อมโยง Client แบบ Site-toSite คือ จะสิ้นเปลือง Tunnel ในการเชื่อมต่อเข้ามา และต้องวุ่นวายกับการสร้าง Icon ในการเชื่อมต่อของเครื่องลูกข่ายแต่ละเครื่อง |
|
การเชื่อมโยงแบบ Site-to-Site (Lan-to-LAN) |
|
บจก. เอ็นเจ เน็ตเวร์คนั้น เคยติดตั้งระบบ VPN ให้กับ บริษัท ห้างร้านชั้นนำต่างๆ มาแล้วมากมาย สามารถพลิกแพลงรูปแบบที่ตรงตามความต้องการของท่าน และงบประมาณที่มีอยู่ ตลอดจนบริการหลังการขายที่มีตัวตนอยู่จริง สามารถสัมผัสและจับต้องได้จริง จึงทำให้ท่านมั่นใจได้ว่า Solution VPN ของท่านนั้น จะช่วยเพิ่ม Security ในการรับส่งข้อมูล และเชื่อมต่อระบบเครือข่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ |
|
Corecasys เราให้บริการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ต่างจากผลิตภัณฑ์ยี่ห้ออื่นเป็นอย่างมาก เพราะเราขายอุปกรณ์พร้อมบริการหลังการขาย และความรู้ต่างๆ ที่คุณจำเป็นต้องใช้งานเกี่ยวกับอุปกรณ์ของเรา ด้วยความที่เราเป็นผู้พัฒนาระบบ (SI) เราจึงสามารถผลักดันคุณให้ใช้งานอุปกรณ์ได้จนจบความต้องการของคุณ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นโยบาย การให้ทดลองใช้งานผลิตภัณฑ์ยาวนานถึง 3 สัปดาห์ ยังเป็นข้อพิสูจนได้ว่า เมื่อคุณซื้ออุปกรณ์ไปแล้ว อุปกรณ์จะต้องช่วยงานคุณได้อย่างมีเสถียรภาพ ไม่ใช่เอาอุปกรณ์เข้าไปสร้างปัญหา และความวุ่นวายใจให้กับคุณ |
|
|
|
|
|
|
1. Access VPN: เป็นรูปแบบในการเข้าถึงเครือข่าย VPN จากอุปกรณ์เคลื่อนที่ต่างๆ ซึ่งสามารถเข้าถึงเครือข่ายได้ใน 2 ลักษณะ โดยลักษณะแรก เป็นการเข้าถึงจากไคลเอ็นต์ใดๆ ก็ได้ โดยอาศัย ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต เป็นตัวกลาง ในการติดต่อ ซึ่งจะมีการเข้ารหัสในการ ส่งสัญญาณ จากเครื่องไคลเอ็นต์ ไปยังไอเอสพี และลักษณะที่สอง เป็นการเข้าถึง จากเครื่องแอ็กเซสเซิร์ฟเวอร์ (Network Access Server-NAS) โดยเริ่มต้นจาก ผู้ใช้หมุนโมเด็ม ติดต่อมายังไอเอสพี และจากนั้น จะมีการเข้ารหัสข้อมูล และส่งต่อไปยังปลายทาง |
|
2. Intranet VPN: เป็นรูปแบบในการเข้าถึงเครือข่าย VPN ที่ใช้เฉพาะภายในองค์กรเท่านั้น อาทิ การต่อเชื่อมเครือข่าย ระหว่างสำนักงานใหญ่ในกรุงเทพฯ และสาขาย่อย ในต่างจังหวัด เสมือนกับ การทดแทน การเช่าวงจรลีสไลน์ ระหว่าง กรุงเทพกับต่างจังหวัด โดยที่แต่ละสาขา สามารถ ต่อเชื่อมเข้ากับ ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ในท้องถิ่นของตน เพื่อเชื่อมเข้า โครงข่าย VPN ขององค์กรอีกทีหนึ่ง |
|
3. Extranet VPN: เป็นรูปแบบในการเข้าถึงเครือข่าย ที่คล้ายกับ Intranet VPN แต่มีการขยายวงออกไป ยังกลุ่มลูกค้า ซัพพลายเออร์ และพาร์ตเนอร์ เพื่อให้ใช้เครือข่ายได้ จุดสำคัญอย่างหนึ่ง ในการเลือกติดตั้ง VPN คือการเลือก ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ที่วางระบบรักษาความปลอดภัย เป็นอย่างดี มีส่วนอย่างมาก ในการส่งข้อมูลบน VPN ให้ปลอดภัยมากยิ่งขึ้น เพราะถ้า ไอเอสพี มีระบบรักษาความปลอดภัย ที่รัดกุม ก็จะช่วยให้ ข้อมูลที่ส่งมา มีความปลอดภัยมากขึ้น |
|
|
|
|
|
|
ประโยชน์ของ การติดตั้งเครือข่ายแบบ VPN จะช่วยองค์กร ประหยัดค่าใช้จ่าย เพราะไม่ว่าผู้ใช้องค์กร จะอยู่ที่ใดในโลก ก็สามารถเข้าถึง เครือข่าย VPN ของตนได้ โดยการต่อเชื่อม เข้ากับ ผู้ให้บริการท้องถิ่นนั้นๆ ทำให้ช่วยลด ค่าใช้จ่าย ในการติดต่อสื่อสาร และสามารถ ลดค่าใช้จ่ายในส่วนของ การดูแลรักษาระบบอีกด้วย นอกจากนี้ ระบบเครือข่าย VPN ยังสามารถ ให้ความคล่องตัว ในการเปลี่ยนแปลง เช่น การขยายเครือข่าย ในอนาคต นอกจากนี้แล้ว ในแง่ของ ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต การออกบริการ VPN ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ที่ช่วยให้ ลูกค้าของไอเอสพี ประหยัดค่าใช้จ่าย และสะดวกสบายมากขึ้น |
|
|
|
|