icon วางระบบเครือข่าย ติดต่อ info@corecasys.com  บทความที่  00298 [Network Tips]
ประสบการณ์จริงจากการใช้งาน Raid

 

ขอขอบคุณแหล่งที่มาข้อมูล  https://www.oknation.net

 

ความคาดหวัง

  • ก่อนการทำ RAID 1  ถ้า harddisk เสียแบบกู้ข้อมูลไม่ได้  หรือ ได้ไม่ครบ  ก็จะต้องนอนไม่หลับไปหลายวัน ต้องลงโปรแกรมใหม่ และจะต้องถูกด่า จากผู้เกี่ยวข้องมากมาย  

     

  • หลังจากทำ RAID 1 ข้อมูลอยู่ครบ แม้ Harddisk จะเสียไป 1 ตัว แถม เครื่องยังทำงานต่อได้ไม่ค้าง  แค่ เอา Harddisk ตัวใหม่มาเปลี่ยน (แบบ hot swap) โดยไม่ต้องปิดเครื่อง ก็ทำได้  ถ้าเป็นเครื่องที่ให้บริการเว็บไซต์ (Web server) ยิ่งแจ่ม เพราะ ยังให้บริการต่อได้แม้ harddisk เสีย เว็บไม่  down  ทุกคน Happy      พอเปลี่ยน harddisk เสร็จ ระบบ RAID มันก็ Resync ทำให้ Harddisk  เหมือนกัน เหมือนเดิม   อะไรมันจะยอดเยี่ยม เช่นนี้

 

  • หลังจากทำ RAID แล้ว ถ้าการใช้งาน harddisk ผ่านไปสัก 3 - 4 ปีโดยไม่เสีย  ก็ควรจะเปลี่ยน harddisk ใหม่ โดยสลับออก และ Resync ทีละลูก  (อายุการใช้งาน harddisk ขึ้นอยู่กับ สภาพแวดล้อม ต่างๆ มากมาย เฉลี่ยนประมาณ 3 - 5 ปี)

ข้อพึงระวัง

 

  •  ระบบ RAID 1 นี้ เป็นการ สำเนาข้อมูลระหว่าง harddisk สองลูก ระหว่างกัน  ถ้าตัวใดตัวหนึ่ง เสีย อีกตัวทำงานแทนทันทีไม่มีติดขัด แต่ ถ้าเกิด harddisk เสียพร้อมๆ กันสองตัว อันนี้ช่วยไม่ได้ นับว่าเป็นคราวซวยโดยแท้ (โอกาสที่ harddisk เสียพร้อมกัน สองตัวนั้น เป็นไปได้น้อยมากๆ)

 

อุปกรณ์ 

 

  • Mainboard ที่มี Chip RAID Controller (ดูที่คู่มือ ก่อนการเลือกซื้อ) RAID มีหลายแบบ ต้องการใช้งานแบบไหน และ ต้องดูด้วยว่า port ที่ต่อกับ harddisk มีกี่อันที่ support RAID   ต้องเปิดดูในคู่มือ   บางแบบ สนับสนุนทั้ง IDE  และ SATA  บางรุ่นทำ RAID ข้ามกันได้   บางรุ่นทำ RAID ข้ามกันไม่ได้ บางแบบ สนับสนุน  SATA  เฉพาะบาง port ควรตรวจสอบจากเว็บไซต์ ผู้ผลิต Mainboard นั้น รวมถึง donwload คู่มือมาดูก่อนการเลือกซื้อ

 

 

 

 

  • เลือก Harddisk ที่ตรงกันกับ Mainboard  และความจุ ควรจะเท่ากัน และควรเป็นรุ่นเดียวกัน (สำหรับการ ทำ RAID 1) 

 

 

  • Floppy Disk Drive  (สำหรับ ติดตั้ง Driver) 
  • CD-ROM สำหรับติดตั้ง Win2003

 

  • Driver ของ Raid (จะมีมาให้กับ CD ของ Mainboard  หรือ download จาก internet)

 

  • Window2003 (ผู้เขียนติดตั้งบนระบบนี้) 
  • เครื่อง คอมพิวเตอร์ อีกเครื่องที่ มี Floppy Drive สำหรับสร้างแผ่น Driver สำหรับติดตั้ง

 

 

 

ลงมือกันดีกว่า

  • ใช้ Mainboard ASUS P5B-VM  Raid Controller ของ Jmicron  ซึ่งกำหนดไว้มี port SATA 1 port ทีเป็น RAID  และ อีก อันเป็น eSATA  ซึ่งเราจะใช้ สองอันนี้
  • harddisk  SATA 2 ตัว ใช้ SEAGATE  250 Gb  กับ 200 Gb  (ถ้าความจุไม่เท่ากัน ทำ RAID 1 จะได้ เท่ากับ ตัวที่น้อยกว่า)
  • hdd 1 ต่อผ่าน port sata  บน mainboard ที่เป็น port แยกต่างหาก  ถ้าต่อ port sata ปกติ ตัว raid controller จะมองไม่เห็น (ตอน boot ระบบ จะเห็น ถ้าต่อถูกต้อง จะสร้าง RAID ได้)
  • ตรวจดูจากคู่มือว่า  Chipset  controller RAID เป็น รุ่นอะไร เพราะตอน install ต้องเลือกให้ตรงกัน
  • สร้างแผ่น driver สำหรับติดตั้ง ลงใน Floppy disk โดยใช้โปรแกรม ที่มีมาให้ โดยปกติ จะมีให้เลือกว่า ใช้กับ ระบบปฎิบัติการอะไร และ เป็น แบบ กี่ bit  ต้องเลือกให้ตรง  กรณีของผม ใช้ win2003 32 bit ก็เลือกตามนั้น

  • สั่งให้เครื่อง Boot จาก CD-ROM (กำหนดใน bios)  
  • พอบูต ขึ้นมา ตัว Chip Raid จะต้อง มองเห็น harddisk โดยหน้าจอจะแจ้งให้กดปุ่ม อะไรสักอย่าง เพื่อเข้าไป ตั้งค่า

  • ให้ เลือกเข้าไปตั้ง เป็น RAID 1  ซึ่งจะต้อง เห็น harddisk 2 ลูกที่ต่อไว้ ถ้าน้อยกว่านี้ โปรแกรมจะฟ้องทำต่อไม่ได้   การตั้ง Raid ในครั้งแรก เรียกการ Create RAID  (ข้อมูลใน harddisk  ทั้งสองลูกจะหายไป)  แน่ใจว่า harddisk ที่เอามาทำ ไม่มีข้อมูลที่ต้องการอยู่ในนั้น

  • ใส่แผ่น Floppy disk ที่ลง driver ไว้แล้ว  ใน drive A เตรียมไว้เลย
  • ติดตั้ง Win2003 จาก CD-ROM  โดยจะต้อง กด F6 ในขั้นตอนแรก เพื่อให้ โปรแกรมถามหา Driver Raid

 

  • จะมีหน้า จอถามให้ ระบุ Driver  โดย win2003 จะไปค้นใน Driver A เอง
  • ถ้าขั้นตอนนี้ผ่าน ก็จะ เห็นชื่อ Raid ขึ้นมาให้เลือก ว่าจะติดตั้ง OS ลงใน Drive ที่เป็น RAID ไม๊  (กรณี ต่อ harddisk หลายๆ ตัว อาจจะเลือก ลงใน harddisk ที่ไม่ได้ทำ RAID ไว้ได้) 

  • เนื่องจาก Hardware RAID เป็นระบบที่ควบคุมระดับ Hardware ดังนั้น จาก เดิม harddisk 2 ลูก พอเอามาทำ RAID  แล้ว Window จะเห็น เหลือ เพียงลูกเดียว   ที่เห็นในภาพ เลือกได้ สอง ลูก เพราะ ใช้ harddisk 4 ตัว ทำเป็น RAID 1  สองคู่ 
  • ทำตามขั้นตอนการติดตั้งปกติ จนเสร็จ สิ้น  ก็จะ boot เข้าสู่ Windows  ได้
  • ให้ติดตั้ง Driver RAID เพิ่ม เป็น Driver  บน Window เพื่อที่จะได้ ควบคุม การ Resyn และ รายงาน สภาพ harddisk ผ่าน ระบบ Window ได้

  • เมื่อติดตั้งเสร็จ ก็สามารถตรวจสอบ การทำงาน ระบบ RAID ว่า ทุกอย่างเป็นปกติหรือไม่

 

เอาละ ทดสอบกัน

  • เพื่อดูประสิทธิภาพ การทำงาน ว่าสมกับคำร่ำลือ จริงไม๊   เมื่อได้ติดตั้ง window เสร็จแล้ว จึงทดลอง copy ข้อมูลจำนวนมากๆ ต่อเนื่องกัน ลง hdd ที่เป็น RAID   และในระหว่างนั้นเอง ได้ ถอดสาย esata ออก เพื่อ จำลองว่า harddisk ลูกนึงในระบบ raid  เสีย    ผลที่ได้คือ  เครื่องยังทำงานปกติ ไม่ค้างไม่ hang ไฟล์ ที่ copy ก็ copy ไปเรื่อยๆ เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น (โอ้ มันยอดมาก)

  • คราวนี้เสียบสาย esata กลับเข้าที่เดิม  ตัว โปรแกรม control raid บน windows แจ้งเตือนขึ้นมาว่า harddisk ข้อมุลไม่เหมือนกัน   และก็เริ่มทำการ Resync   
  • การ Resync เป็นไปด้วยความยาวนาน ประมาณ 1 ชั่วโมงน่าจะได้สำรหับ harddisk 250 GB
  • แต่ในระหว่าง Resync นั้น  สามารถ เปิดโปรแกรม หรือใช้งาน เครื่องได้ตามปกติ  (อาจจะช้าลงบ้างเล็กน้อย) 
  • เมื่อ Resync เสร็จ ก็เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้นทุกอย่างกลับเข้าสู่ในสภาวะปกติ 
  • การ Resync นั้น ขึ้นอยู่กับ ความจุ และ RAID CONTROLLER ด้วย ถ้า harddisk ความจุ ต่ำ และ Raid Controller ฉลาด ก็จะ ไว หน่อย

นี่ล่ะสิ่งที่ฉันต้องการ

หมายเหตุ

  • การ Resync หรือ Rebuilt นั้น สามารถทำได้ทั้ง บนระบบ Windows หรือ ตอน บูตเครื่อง และกด เข้าสู่ เมนู Raid ก่อน เข้าสู่ Window ก็ได  แต่ถ้า rebuit บน window จะดีกว่า เพราะ โปรแกรมอื่นๆ ไม่ต้องหยุดการทำงาน 
  • การเอา harddisk  มาทำ Rebuit นั้น ถ้า harddisk ตัวนั้น เคย set เป็น raid มาก่อน พอเสียบ มันก็จะ rebuilt ได้เองเลย ไม่ต้อง กดปุ่มใดๆ หคือ สั่งการใดๆ  (อันนี้เป็นประโยชน์ กรณี ในระบบ server ที่ไม่เห็นหน้าจอภาพ)  แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ควรจะเห็นการทำงาน ของมันด้วยว่า มัน rebuilt ได้ไม่มีปัญหา

 

จากคุณ : NickService.Com [3 มิถุนายน 2552 - 20:33:31]  

HOME  |  SOLUTION  |  PRODUCT  |  SPEED TEST  |  Check IP WAN  |  CONTACT US

© 2007 NJ Network Co.,Ltd.  TEL. 02-2497910