Manage Switch สายธารแห่ง Bandwidth ขุมพลังอันยิ่งใหญ่
สสารในโลกมนุษย์ใบนี้ ไม่มีอะไรยิ่งใหญ่ไปกว่าน้ำ พลังแห่งน้ำ พลังแห่งคลื่นมหาชน หากใครเข้าใจกฎแห่งน้ำ วัฎจักรแห่งการไหลวน สสารและพลังงานทุกอย่างนั้น ไม่เคยสูญหายไปจากโลกใบนี้ มันแค่เปลี่ยนสภาพ และเรียงตัวกันใหม่ตามความสั่นสะเทือน หากเข้าใจกฎแห่งกรรม และการย้อนกลับของพลังในรูปแบบต่างๆ เมื่อทำสิ่งใด ก็จะสามารถอยู่ในวงการนั้นได้อย่างยั่งยืน
เปรียบดั่งการไหลเวียนของข้อมูลภายในองค์กร สิ่งที่หลายคนมักมองข้ามไปคือการใช้งาน Manage Switch ผู้คนโดยมาก มักใช้งาน Switch เชื่อมต่อกันไปเรื่อยๆ แบบไร้ทิศทาง และโยงใยไปยังเครื่องลูกข่ายอื่นๆ โดยขาดการวางแผน ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาพื้นฐานต่างๆ ดังนี้
- การเกิด Loop ภายในองค์กร อันเนื่องมาจากการเพิ่มขึ้นของ Switch โดยไร้ทิศทาง
- การ Boardcast ของเครื่องลูกข่ายจำนวนมาก ทำให้การรับส่งข้อมูลล่าช้า
- เกิดปัญหาจากไวรัสที่มุ่งเล่นงาน Switch โดยตรง
- ปัญหาจากการที่ไม่สามารถตรวจสอบสถานะของอุปกรณ์ต่างๆ และ Switch ได้
การแก้ไขปัญหาระบบเครือข่ายโดยใช้ Manage Switch เข้าช่วยนั้น นอกจากจะทำให้ปัญหาต่างๆ ดังที่กล่าวมาหมดไปแล้ว ท่านยังสามารถสร้าง ระบบเครือข่ายที่สามารถควบคุมได้โดยสมบูรณ์จากภายนอกในลักษณะของ MATRIC ได้อีกด้วย ซึ่งจะกล่าวถึงในตอนท้ายของบทความ ลองมาดูกันก่อนว่า การแก้ไขปัญหาพื้นฐานต่างๆ เหล่านี้โดยใช้ Manage Switch สามารถทำได้อย่างไร
1. การเกิด Loop ภายในองค์กร
ก่อนที่จะกล่าวถึงปัญหาการเกิด Loop ภายในองค์กรนั้น เรามาทำความเข้าใจกับรูปแบบการเกิด Loop ภายในระบบเครือข่ายกันก่อน ปัญหาการเกิด Loop นั้น เกิดขึ้นเนื่องจากการเชื่อมต่อ Switch เป็นวงกลม โดยต่อจากต้นทางไปยังปลายทาง และย้อนจากปลายทางเข้าหาต้นทาง ซึ่งหากต่อแบบนี้จะทำให้เครื่องลูกข่ายต่างๆ ภายในระบบเครือข่าย ไม่สามารถติดต่อถึงกันได้เลย และระบบจะล่มในที่สุด เราลองมาดูภาพพื้นฐานการเกิด Loop ในรูปแบบต่างๆ กันก่อน
ภาพที่ 1 การเกิด Loop จาก Switch ตัวเดียว
ภาพที่ 2 การเกิด Loop จาก Switch 2 ตัว
ภาพที่ 3 การเกิด Loop จาก Switch 3 ตัว
ปัญหานี้โดยมากมักเกิดขึ้นภายในอพาร์ทเม้นท์ หรือหอพักนักศึกษา ซึ่งเป็นระบบ LAN แบบเก่า โดยจะเดินสาย LAN (UTP Cat 5) ไปยังห้องพักทุกๆ ห้อง จึงทำให้ยากต่อการควบคุม เพราะผู้ใช้งานเครือข่ายสามารถแอบเพิ่ม Switch ภายในห้องเองได้ ปัจจุบันมี Manage Switch หลายรุ่น ที่สามารถ Block Loop เป็น Port ได้ โดยหากเกิด Loop ที่ Port ใด ก็จะหยุดการทำงานของ Port นั้นทันที ทำให้ระบบโดยรวมไม่เสียหาย
ภาพที่ 4 ตัวอย่างฟังก์ชั่นการ Block Loop ของ Switch DrayTek
2. การ Board Cast ของเครื่องลูกข่ายจำนวนมาก
การแก้ไขปัญหานี้สามารถทำได้โดยการทำ VLAN ภายในระบบเครือข่าย ซึ่งจะช่วยจำกัดการ Boardcast ภายในระบบฯ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปัจจุบัน การทำ VLAN แบบ Port Base นั้นไม่จำเป็นต้องใช้ความรู้ด้านเทคนิคมากมายเหมือนสมัยก่อน
ภาพที่ 5 ตัวอย่างฟังก์ชั่นการทำ VLAN ของ DrayTek Switch
ในการตรวจสอบความเร็วของระบบเครือข่ายนั้น ทำได้ง่ายๆ โดยใช้คำสั่ง Ping ซึ่งหากค่า time<5 ms แล้ว ถือว่าระบบเครือข่ายอยู่ในเกณฑ์ช้า และควรปรับปรุง
ภาพที่ 6 การทดสอบความเร็วของระบบเครือข่ายโดยใช้คำสั่ง Ping
3. ปัญหาไวรัสที่มุ่งเล่นงานที่ Switch โดยตรง
ปัจจุบันมีไวรัสอยู่หลายสายพันธุ์ที่เล่นงานระบบ Switch โดยจะทำการ Boardcast Strom ไปยัง IP ของเครื่องลูกข่ายต่างๆ ภายในระบบฯ ทำให้ระบบเครือข่ายช้าลงอย่างเห็นได้ชัด และในที่สุดเครื่องลูกข่ายเหล่านั้นก็จะไม่สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ หรือแม้แต่รับ IP จาก DHCP Server ก็ไม่สามารถทำได้เช่นกัน การแก้ไขปัญหานี้ มีอยู่ 2 ขั้นตอนด้วยกันคือ
3.1 ใช้ Manage Switch ที่มีฟังก์ชั่น SNMP
วิธีนี้จะทำให้ทราบได้ว่า ข้อมูล Switch ของ Port ต่างใช้ในปริมาณเท่าไร หากทุก Port มีการรับส่งข้อมูลพร้อมกันเป็นปริมาณมากๆ เช่น Switch 24 Port มีการรับส่งข้อมูลพร้อมๆ กันที่ประมาณ 90Mbps เราอาจอนุมานได้เลยว่า ไวรัสเข้ามาเยี่ยมระบบเครือข่ายของเราแล้ว ให้ทำการปิด Switch โดยด่วน โปรแกรมที่ใช้รองรับการ SNMP ของ Switch นี้ก็เป็นโปรแกรมประเภท MRTG หรือ PRTG เป็นต้น
ภาพที่ 7 ตัวอย่าง Switch ที่รองรับฟังก์ชั่น SNMP
ภาพที่ 8 ตัวอย่างโปรแกรม PRTG ที่ใช้รองรับฟังก์ชั่นการใช้งาน SNMP
3.2 ใช้ Manage Switch ที่ทำ Bandwidth Management และ Session Limit ได้
หลังจากที่ใช้โปรแกรมประเภท MRTG หรือ PRTG ตรวจสอบปริมาณการใช้งาน Bandwidth ของแต่ละ Port แล้ว ให้ทำ Bandwidth Management ในแต่ละ Port ตามความเหมาะสม เพื่อ จำกัดความเสียหายอันเกิดจากไวรัสประเภทนี้
ภาพที่ 9 ฟังก์ชั่น Bandwidth Management ของ DrayTek Switch
4. ปัญหาจากการที่ไม่สามารถตรวจสอบสถานะของอุปกรณ์ต่างๆ ในระบบเครือข่าย
ปัญหานี้เป็นปัญหาที่สำคัญที่สุด และน่าจะเป็นความต้องการสูงสุดของ Admin ที่จำเป็นต้องใช้ Manage Switch เข้าช่วย โดยหากประยุกต์ใช้ Manage Switch ภายในองค์กรแล้ว ท่านจะสามารถจัดการอุปกรณ์ต่างๆ ได้ดังนี้
-
Reset Bridge Modem, Reset Port DSLAM และจัดการ Router ได้ในทุกสถานะ
-
ตรวจสอบ Server, Access Point, Switch และอุปกรณ์ต่างๆ ผ่าน Manage Switch
หากท่านใช้งาน Load Balance Router คงมีหลายครั้งที่ Modem ไม่สามารถ Syncronize สัญญาณ ADSL จาก ISP ได้ จำเป็นต้อง Reboot Bridge Modem หรือโทรแจ้งให้ ISP นั้นๆ ให้ Reset Port DSLAM ซึ่งกว่าทางเจ้าหน้าที่ ISP จะยอม Reset Port DSLAM ให้ก็ต้องอธิบายให้ฟังก้นยาวยืด เราลองมาดูการเชื่อมต่อตาม Diagram ด้านล่างนี้กันก่อน
ภาพที่ 10 การเชื่อมต่อแบบ Matrix แบบที่ 1 โดยใช้ DrayTek Vigor 2950
อุปกรณ์ที่ต้องใช้
-
Bridge Modem มี RJ45 มากกว่า 1 Port / 2 ตัว
-
Load Balance Router ที่สามารถทำ VLAN และ 2nd subnet routing ได้ (Vigor 2950)
หากท่านเชื่อมต่อ Diagram ตามรูปแบบนี้ หาก Bridge Modem ของ WAN 1 ล่ม ท่านสามารถเชื่อมต่อ VPN มายัง Router ผ่าน Dynamic DNS ของ WAN 2 และ Browser ไปที่ Bridge Modem ของ Wan 1 เพื่อ Reset Bridge Modem ของ WAN 1 ได้ และ หาก Bridge Modem ของ WAN 2 ล่ม ท่านก็สามารถทำได้ในลักษณะเดียวกัน ทั้งนี้ Bridge Modem บางรุ่นยังมีคุณสมบัติสามารถ Reset Port DSLAM ได้จากอุปกรณ์ CPE ปลายทางอีกด้วย
ขั้นตอนการติดตั้งตามภาพที่ 11 นี้ ควรกำหนด IP ของ Bridge Modem ให้อยู่คนละ Subnet กับ IP LAN ของ Router และจะต้องทำ VLAN ใน Port ที่ 2 และ 4 แยกออกมาไม่ให้เกี่ยวข้องกับ VLAN ใดเลย เพื่อป้องกันการ Dial PPPoE ชนกันระหว่าง Wan 1 กับ Wan 2
ภาพที่ 11 การกำหนด 2nd subnet กับ Vigor 2950
ภาพที่ 12 การกำหนด VLAN กับ Port ที่ 2 และ 4
ท่านสามารถดู VDO สาธิตการทำงานการเชื่อมต่อ Matrix แบบที่ 1 ได้ที่นี่
การเชื่อมต่อตามภาพที่ 10 นั้น เป็นการเชื่อมต่อที่เกือบจะสมบูรณ์ ระหว่าง WAN 1 กับ WAN 2 แต่มีข้อจำกัดที่ว่า ที่เปิดช่องทางในการ Remote Backup Maintenance ซึ่งกันและกัน แต่หาก Router Hang หรือ ล่ม (เป็นไปได้น้อยมาก) ก็จะไม่สามารถจะ Remote ใดๆ ได้ จึงเป็นที่มาของการเชื่อมต่อแบบ Matrix แบบที่ 2 ซึ่งจะมี Cluster Router ทำหน้าที่ Backup ซึ่งกันและกัน
ภาพที่ 13 การเชื่อมต่อแบบ Matrix แบบที่ 2 (Vigor 3300v)
อุปกรณ์ที่ต้องใช้
- Bridge Modem มากกว่า 1 Port ตามจำนวนขา WAN ที่มี
- Load Balance Router ที่สามารถทำ 2nd subnet routing ได้ (Vigor 3300v / 2 ตัว)
- Manage Switch ที่สามารถทำ VLAN ได้ อย่างน้อย 5 VLAN
ภาพที่ 10 และภาพที่ 13 นั้น ต่างกันตรงที่ภาพที่ 10 จะไม่มี Backup/Cluster Router แต่ภาพที่ 13 มี Cluster Router ซึ่งหาก Router ตัวใดตัวหนึ่งหยุดทำงาน Router ตัวที่ 2 จะขึ้นทำงานแทนที่ในทันที และในภาพที่ 13 นั้น ท่านยังสามารถตรวจสอบการเชื่อมต่อของอุปกรณ์ต่างๆ เช่น Server, Access Point, Switch และอุปกรณ์อื่นๆ ได้อีกด้วย
ภาพที่ 14 แสดงสถานการณ์เชื่อมต่อของแต่ละ Port LAN
ภาพที่ 15 ดูสถานการณ์รับส่งข้อมูลในแต่ละ Port แบบ Real Time
ยังมีปัญหาต่างๆ อีกมากภายในระบบเครือข่ายอันเนื่องมาจาก Switch ที่ยังไม่ได้กล่าวถึง ผู้เขียนหวังว่า สิ่งต่างๆ ที่ได้เล่าให้ฟังมานี้ อย่างน้อยก็จะเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ผู้อ่านได้เข้าใจ และรับรู้ว่า Manage Switch นั้น จำเป็นและสำคัญต่อองค์กรเพียงใด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การทำระบบเครือข่ายที่สามารถควบคุมได้โดยสมบูรณ์จากภายนอกในลักษณะของ MATRIC นั้น เป็นประโยชน์ต่อ Admin และผู้ให้บริการวางระบบเครือข่ายเป็นอย่างมาก เพราะนอกจากจะได้ทั้งความรวดเร็วในการแก้ไขปัญหาอุปกรณ์ต่างๆ ความสะดวกสบายในการแก้ไขปัญหา และยังช่วยลดเวลาที่เสียไปในการเดินทางโดยไม่จำเป็นอีกด้วย อย่าทำระบบเครือข่ายประเภท เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่ายเลยครับ ท่านลองคิดดูว่า หากท่านเป็นผู้ดูแลระบบ หรือผู้ให้บริการรับวางระบบเครือข่าย ท่านจะมีเวลาตลอดไหมที่จะไปที่ไซต์งานลูกค้าเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น หรือเลือกที่จะ Remote และ Manage จากบ้าน, ที่ทำงาน หรือจากที่สำนักงานใหญ่