หนึ่งในผลงานที่ชีซีฝากเอาไว้ในการศึกครั้งแรก และครั้งเดียวนั้นคือ การทลายค่ายกลที่ชื่อว่า "ค่ายกลแปดประตูลั่นดาล" ลักษณะของค่ายกลนี้คือจะทำให้ศัตรูตกอยู่ในวงล้อม และศัตรูจะต้องต่อสู้กับทหารในค่ายกลนับไม่ถ้วน ซึ่งชีซี สามารถหาจุดอ่อนของค่ายกลนี้ได้ โดยการให้ "จูล่ง" เข้าไปยังจุดอ่อนดังกล่าว แล้วค่ายกลนั้นก็แตกพ่ายไป หากประยุกต์ใช้กลยุทธ์นี้เข้ากับการติดต่อสื่อสารในระบบคอมพิวเตอร์ ผู้เขียนขอเรียกกลยุทธ์การเชื่อมต่อแบบนี้ว่า "ยิงเข้าไปหนึ่ง แทงทะลุทุกโปรแกรม" ปัจจุบันโปรแกรมติดต่อสื่อสารต่างๆ นั้นมีมากมาย ไม่ว่าจะเป็น MSN Messenger, Yahoo Messenger, ICQ, QQ, Google Talk, AOL, Skype ฯลฯ เวลาที่ผู้เขียนต้องการติดต่อกับใครนั้น บางทีก็วุ่นวายพอควร เพราะต้องคอยลงโปรแกรมดังกล่าว อีกทั้งเวลาเปิดแต่ละโปรแกรมที่กล่าวมานั้น ก็เสียเวลามิใช่น้อย มีเทคนิคอยู่วิธีหนึ่งก็คือการใช้ Terminal Service เข้ามาช่วยในการติดต่อสื่อสาร ลักษณะคือ ให้คุณลงโปรแกรมทั้งหมดที่ต้องการลงในเครื่อง Terminal Server หรือหากมีงบประมาณจำกัด คุณอาจใช้คอมพิวเตอร์ Windows XP เครื่องใดเครื่องหนึ่งก็ได้ ที่เปิดตลอดเวลา แต่คอมพิวเตอร์เครื่องนี้ต้องเปิด Service Remote Desktop เอาไว้ เวลาที่คุณต้องการจะใช้งานโปรแกรม Chat ต่างๆ เหล่านั้น ก็ให้คุณ เชื่อมต่อโดยใช้ Remote Desktop ที่เครื่องลูกข่ายองคุณมายัง Server/Computer ดังกล่าว ก็จะสามารถทำให้คุณใช้งานโปรแกรมได้ครบถ้วน ดังคำที่ผู้เขียนเกริ่นเอาไว้ทีแรกว่า "ยิงเข้าไปหนึ่ง แทงทะลุทุกโปรแกรม" ทั้งนี้ Service ประเภท Remote Desktop (RDP) นั้น จะ Map Sound Card ของเครื่องแม่ที่คุณเชื่อมต่อเอาไว้ด้วย จึงทำให้คุณไม่พลาดการติดต่อ เมื่อมีคนส่ง Message มาหา ก็จะมีเสียงดังขึ้นที่เครื่องของคุณ เหมือนการใช้งานตามปกติ อีกทั้งหากคุณมีงบประมาณจำกัดจริงๆ คุณก็อาจใช้คอมพิวเตอร์ Server ที่มีอยู่ลงโปรแกรมประเภท Virtual Machine แล้วลง XP ที่ VM ตัวนั้น แล้วเปิดควบคู่กับ Server ที่ใช้งานอยู่ก็ได้ เทคนิคนี้ท่านสามารถประยุกต์ และปรับเปลี่ยนรูปแบบตามความเหมาะสมของตัวท่านได้เอง จะใช้ RDP ผ่านมือถือหรืออย่างไรก็ได้ ท่านสามารถดู VDO ตัวอย่างการใช้งานได้ที่นี่
หากต้องการขยายภาพเต็มหน้าจอกรุณาคลิ๊กขวาที่ VDO ไปที่เมนู Zoom แล้วเลือก Full Screen
(สิ่งสำคัญคือ ท่านต้องมี Server เป็นของตัวเองที่เปิดไว้ตลอดเวลาด้วย และจะให้ดี Router ที่ท่านใช้งานอยู่ Update Dynamic DNS ได้อย่างแม่นยำ ก็จะทำให้ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย)
เทคนิคการใช้ Remote Desktop เชื่อมต่อไปยัง Server
การ Save เป็น icon เพื่อสะดวกในการเรียกใช้งาน คุณสามารถกำหนดให้ RDP เซฟเป็นไอคอนแต่ละ User ได้ครับโดยคลิ๊กที่ Option เวลาเรียกโปรแกรม Remote Desktop ขึ้นมาตามภาพที่ 1
ภาพที่ 1
จากนั้นจะปรากฎหน้าต่างตามภาพที่ 2 คุณคลิ๊กที่ Save as แล้วเลือกชื่อไฟล์ที่ต้องการ Save เก็บเอาไว้ ซึ่งชื่อไฟล์ที่ Save ไว้นี้จะ Save User ที่ปรากฎบนหน้าจอตามภาพที่ 2 เอาไว้ด้วย เวลาที่คุณต้องการเชื่อมต่อไปยัง Server คุณก็เพียงแค่พิมพ์ Password เท่านั้น ไม่ต้องพิมพ์ IP และ User Name อีก
ปัญหาอย่างหนึ่งซึ่งผู้เขียนมักพบโดยมากเวลาที่ติดตั้งโปรแกรม ERP หรือโปรแกรมบัญชีใน Terminal Server นั้นก็คือ ลูกค้าอยากจะ Map ใช้งาน Printer ที่เครื่องลูกข่าย เวลาเชื่อมต่อ Remote Desktop เข้าไปที่ Server นั้น บางครั้งใช้งานที่ Server แต่อยากสั่งพิมพ์ที่เครื่องลูก ซึ่งตรงจุดนี้ จากประสบการณ์การใช้งานมานั้น Service ประเภทนี้เสถียรภาพไม่ดีเท่าที่ควร บางครั้งพิมพ์ได้บ้าง ไม่ได้บ้าง ซึ่งอาจเกิดจาก Firewall หรือ Registry บน Server ซึ่งไม่ได้เปิดเอาไว้ ดังนั้นผู้เขียนแนะนำให้ปิด Service นี้ไป ตามภาพที่ 4
ภาพที่ 4
ผู้เขียนขอแนะนำว่า หากใช้ Terminal Server ในลักษณะของการใช้งานในธุรกิจ (ต้องการเสถียรภาพในการใช้งานที่แน่นอน) หากต้องการสั่งพิมพ์งานจาก Terminal Server มายังเครื่องลูกข่าย ขอให้ใช้งานผ่านอุปกรณ์ประเภท Print Server จะดีกว่า
หากต้องการขยายภาพเต็มหน้าจอกรุณาคลิ๊กขวาที่ VDO ไปที่เมนู Zoom แล้วเลือก Full Screen
การแก้ไขปัญหา Windows 7 Share File ไม่ได้กับ XP หรือ Windows Server 2003
ผู้เขียนเกือบแทบจะเลิกใช้ Windows 7 เลยในช่วงแรกๆ เนื่องจากติดปัญหาเรื่อง Security มากเวลาต้องเชื่อมต่อกับระบบเก่า ปัญหาอย่างนึงที่สำคัญมากก็คือ Windows 7 ไม่สามารถ Access ไปยัง Share Folder ของ Windows Server 2000, Windows 2003 หรือ Windows XP ได้ ปัญหาดังกล่าวเกิดจากรูปแบบการ Authentication การใช้งานของ Windows 7 นั้นปรับเปลี่ยนไป มีวิธีแก้ไขและปรับแต่งให้ Authentication Share Folder ของ Windows 7 นั้นกลับไปเป็นเมือน Windows XP ได้ดังนี้
เข้าไปที่ Menu Run พิมพ์คำสั่ง secpol.msc ตามภาพที่ 5
ภาพที่ 5
จากนั้นเข้าไปที่ Local Policies > Security Option ตามภาพที่ 6