icon วางระบบเครือข่าย ติดต่อ info@corecasys.com  บทความที่  00432 [DrayTek Tips]
บทความนิตยสารไมโครคอมพิวเตอร์ เม.ย. 54 (แก้ไขปัญหา VOIP แบบต่างๆ)

 

การแก้ไขปัญหา VOIP ภายในระบบเครือข่ายรูปแบบต่างๆ

 

ปัจจุบันมีคนพูดคุยกันมากถึงระบบ VOIP ในช่วงแรกหลายคนเจอปัญหา  และแก้ไขไม่ได้  เลิกใช้ไปก็หลายราย  ปัญหาพื้นฐานของระบบ VOIP ภายในระบบเครือข่ายที่มักพบเจอกันนั้นมีดังนี้  (ท่านสามารถดูนิยมมคำศัพท์ต่างๆ ในบทความนิตยสารไมโครคอมพิวเตอร์ฉบับเดือน ม.ค. 2554 หรืออ่านได้ลิงค์นี้  https://corecasys.com/tech/read.asp?no=414)

 

  1. เมื่อเชื่อมต่อ FXO เข้ากับสายในของ PABX แล้ว  เวลาวางสาย  สายไม่ยอมตัด  ต้องรอประมาณ 1-2 นาที  กว่าสายจะตัด  ซึ่งหากโทรออกผ่าน Sip Trunk ภายนอก  ก็ทำให้เสียค่าใช้จ่ายโดยสิ้นเปลือง  แม้จะเล็กน้อยก็ตาม  และในบางครั้งกดเบอร์ผิด  กว่าจะกดเบอร์ใหม่ได้ก็ต้องรอ 1-2 นาทีเช่นกัน
  2. คุณภาพของเสียง  เช่นเสียงเบา  เสียงดังข้างฝั่งใดฝั่งหนึ่ง  พูดไปได้ยินบ้าง  ไม่ได้ยินบ้าง Voice Box ถูกๆ บางรุ่นเวลาพูดแทบจะต้องตะโกนเลยก็มี  บางทีเสียงก็ขาดๆ หายๆ  ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้ใช้รำคาญ
  3. ปัญหาอีกอย่างที่พบเห็นโดยทั่วไป  เช่น  เมื่อเปิดอุปกรณ์ Voice Box ไว้เพียง 1-2 วัน  และมีการใช้อุปกรณ์อย่างต่อเนื่อง  บางทีอุปกรณ์พวกนี้ก็จะ Hang ต้องคอยปิดและเปิดใหม่อยู่เรื่อยๆ
  4. ปัญหาสายไม่ว่าง  การแย่งกันใช้ Sip Trunk ภายในระบบ  เช่นกดโทรออกพร้อมกัน  ในขณะที่ Sip Trunk มีเพียงเบอร์เดียวเป็นต้น

 

ปัญหาเหล่านี้จะหมดไป  หากท่านใช้ Vigor 3510 ภายในระบบเครือข่าย  ซึ่งอุปกรณ์ Vigor 3510 นั้นเป็นอุปกรณ์ All in One ซึ่งสามารถทำงานในได้ทั้ง Load-Balance, Router, Firewall, Sip Server, Sip Client และมี Port ในการเชื่อมต่อแบบ FXS (ต่อสายนอก PABX) และ FXO (ต่อสายใน PABX) ได้อย่างละ 4 Port  สำหรับสำนักงานขนาดเล็ก  หรือขนาดกลางแล้ว  เรียกได้ว่าหากท่านคิดจะตั้งสาขา  หรือสำนักงานแห่งใหม่  ตัวเดียวเอาอยู่  และประหยัดค่าใช้จ่ายในระยะยาวอย่างเห็นได้ชัดจริงๆ

 

มาดูวิธีการแก้ไขปัญหาตามข้อ 1 กันก่อน

 

ต้นตอของปัญหานั้นคือ Port FXO ไม่รู้จัก Busy Tone ของตู้ PABX  ผู้เขียนจะขอยกตัวอย่างการแก้ไขปัญหา FXO ไม่รู้จัก Busy Tone ของ PABX  โดยใช้ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ Vigor 3510  ซึ่งขั้นตอนในการแก้ไขปัญหานั้น  อาจต้องใช้โปรแกรมเสริมเข้ามาช่วยแปลงสัญญา Busy Tone ให้เป็นเป็นฐาน 10 กันก่อน  โดยในบทความนี้ขอแนะนำให้ใช้โปรแกรมที่ชื่อว่า GoldWave โดยให้ท่านบันทึกเสียงสัญญาณสายไม่ว่างของ PABX ก่อน  โดยทำตามขั้นตอนดังนี้

 

1. ยกหูโทรศัพทปลายทางขึ้นมา  ยกตัวอย่างเช่น Extension Number 101 ต้องการโทรหา Extension Number 102  ให้ยกโทรศัพท์เครื่องที่เป็นเบอร์ 102 ทิ้งไว้แล้วโทร  จากนั้นท่านอาจบันทึกเสียงโดยใช้เครื่องบันทึกเสียงดิจิตอลแบบใดก็ได้  อาจเป็นโทรศัพท์มือถือ,  MP3 Recorder ก็ได้ ฯลฯ  โดยคุณภาพเสียงที่บันทึกตรงนี้  ไม่จำเป็นต้องมีความคมชัด  ขอให้บันทึกได้เป็นพอ  เพราะเราจะ Detect ช่วงเวลาของเสียงที่ขาดหายไปเท่านั้น

 

2. เมื่อได้เสียงบันทึกดิจิตอลสายไม่ว่างของ PABX มาแล้ว  ก็ใช้โปรแกรม GoldWave ทำการแปลงค่า  โดยทำตามขั้นตอนดังนี้

 

3. ไปที่เมนู File > Open > เลือกไฟล์ดิจิตอลที่บันทึกไว้  ตามภาพที่ 1

 

ภาพที่ 1

 

4. จากนั้นให้ทำแถบสีระหว่าง Tone on และ Tone off ตามภาพด้านล่าง

 

ภาพที่ 2

 

5. เมื่อทำแถบสีแล้ว  ให้ไปที่เมนู  Option > Effect > Filter > Noise Reduction จากนั้นให้คลิ๊กที่ Radio Button ที่ชื่อ Use Shape  ตามภาพที่ 3

 

ภาพที่ 3

 

6.  จากนั้นให้เลือก Slide Bar ด้านล่าง  เพื่อหาจุดสูงสุดของกราฟเสียง  แล้วดูค่า X  ซึ่งค่านี้สามารถ  บวก/ลบ 5  ได้  จากภาพด้านล่างจะเป็น 441  ซึ่งผู้เขียนขออนุมานค่าเป็น 440  ตามภาพที่ 4

 

ภาพที่ 4

 

7.  เมื่อได้ค่า Frequency มาแล้ว  ทีนี้ก็หาค่า Interval ของ Tone On และ Tone Off ตามภาพที่ 5  และภาพที่ 6

 

ภาพที่ 5 (Interval off)

 

ภาพที่ 6 (Interval On)

 

8. เมื่อได้ค่าดังกล่าวมาแล้ว  อาจบวก/ลบ 5 เหมือนเดิม  โดยค่าทั้ง 2  มีค่าอยู่ประมาณ 50

 

9. เมื่อได้ค่า Frequency และ Interval ของ Tune On และ Tone Off แล้ว  ก็นำค่าดังกล่าวมาใส่ที่ Vigor 3510  ได้เลย  โดยไปที่เมนู IP PBX > PBX Setting > Tone Setting > จากนั้น Region เลือก User Define  แล้วใส่ค่าที่ได้มาทั้ง 3 ค่าตามภาพที่ 7 และภาพที่ 8

 

ภาพที่ 7

 

ภาพที่ 8

 

หลังจากบันทึกค่าดังกล่าวแล้ว  ให้ลองทดสอบดูว่าเมื่อใช้ Port FXO แล้ววางสาย 1-2 วินาที  สายตัดหรือไม่  หากสายยังไม่ตัดอีก  อาจเพิ่มค่าบวก/ลบ 5 ลงไป  ทั้งนี้ในเมนู Region อาจมีค่าที่เหมาะสมสำหรับ  PABX  ยี่ห้อต่างๆ ไว้อยู่แล้วก็ได้  สำหรับตู้ Panasonic ของญี่ปุ่นนั้น  ค่า Frequency และ Interval จะเป็นค่า (400/25/25)  ท่านผู้อ่านสามารถนำค่าดังกล่าวไปใส่ใน Voice Box ยี่ห้ออื่นก็ได้ตามความเหมาะสม  เพราะอยู่บนทฤษฎีและหลักการเดียวกัน

 

ปัญหาอย่างที่ 2  คือเสียงเบา  เสียงขาดหาย  พูดไปได้ยินบ้างไม่ได้ยินบ้าง  การแก้ไขปัญหาตรงจุดนี้นั้น  แก้ไขได้โดยใช้ฟังก์ชั่น QOS และ VLAN  ซึ่ง QOS (Quality of Service)  นั้น  ผู้เขียนได้เคยกล่าวไว้แล้วในบทความก่อนหน้านี้  สามารถดูเพิ่มเติมได้ที่  https://corecasys.com/tech/read.asp?no=365  ซึ่งหากท่านใช้ผลิตภัณฑ์ Vigor  3510  แล้วกระบวนการดังกล่าวไม่จำเป็นอีกต่อไป  เพราะตัวอุปกรณ์มีการทำ QOS ในส่วนของ Hardware Base ไว้เรียบร้อยแล้ว  ในส่วนของ VLAN ก็เช่นเดียวกัน  จำเป็นต้องทำเพื่อป้องกัน Package จากเครื่องลูกข่ายภายในระบบที่ติดไวรัส Broadcast Package ปริมาณมากๆ มายัง Voice Box หรือ Sip Server  ซึ่ง Vigor 3510  ก็แก้ไขปัญหานี้แล้วในระดับ Hardware เช่นกัน  ตัวอย่างการทำ VLAN ที่ DrayTek เข้าใจตามภาพ Look and Feel  ตามภาพที่ 9  (DrayTek Router ทุกรุ่นนั้น  รองรับคุณสมบัติการทำ QOS และ VLAN อยู่แล้ว  แต่หากใช้รุ่น Vigor -3510 ไม่จำเป็นต้องทำ QOS และ VLAN เพราะอุปกรณ์ทำในระดับ Hardware ไว้อยู่แล้ว)

 

ภาพที่ 9

 

ปัญหาอย่างที่ 3 คือเมื่อใช้อุปกรณ์อย่างต่อเนื่อง  อุปกรณ์จะ Hang ปัญหานี้มักเกิดขึ้นกับการใช้อุปกรณ์ VOIP ผิดประเภท  ผู้เขียนพบลูกค้าหลายราย  นำอุปกรณ์มาใช้งานผิดประเภทโดยการนำอุปกรณ์แบบ Home Use มาเชื่อมต่อเข้ากับ PABX  ซึ่งแน่นอนว่า  เสถียรภาพของอุปกรณ์ระดับ Home user นั้นไม่สามารถเปิดใช้งานแบ 24x7 ได้  ดังนั้นหากท่านติดตั้งอุปกรณ์ไว้แล้ว  อาจแก้ไขปัญหาได้โดยการประยุกต์ใช้อุปกรณ์ตั้งเวลาเปิดปิดเข้าช่วย  ซึ่งท่านอาจต้องทำการบันทึกประวัติของอุปกรณ์  เหมือนกับประวัติของคนไข้  เวลาอุปกรณ์ Hang แล้วอย่ารีบด่วนปิดแล้วเปิดใหม่  ให้ทำการบันทึกวันเวลาที่เกิดอาการเอาไว้ก่อน  บันทึกไว้ประมาณ 1-2 สัปดาห์  (ที่จริงแล้ว Admin ควรทำประวัติอุปกรณ์ทุกชิ้นไว้ด้วยเช่นกัน)  หลังจากที่ได้ประวัติของอุปกรณ์แล้วว่า  Hang เมื่อวันใดเวลาใดบ้าง  ก็ประยุกต์การแก้ไขปัญหาแบบพื้นบ้าน  โดยการใช้อุปกรณ์ตั้งเวลาเปิดปิดเข้าช่วย  เช่น Hang วันละ 1 ครั้ง  ก็อาจตั้งเวลาให้เปิดปิดอุปกรณ์วันละ 1 ครั้ง  อาจเป็นช่วงดึกๆ ที่ไม่ใช้งานอุปกรณ์  เช่นตีสี่  หรือหาก Hang วันละ 2 ครั้งก็อาจตั้งเวลาให้ ปิดและเปิดเครื่อง  ช่วงพักกลางวัน  และช่วงกลางคืนด้วยเป็นต้น  ตัวอย่างเครื่องตั้งเวลาตามภาพที่ 10  อุปกรณ์ดังกล่าวมีขายตามห้างสรรพสินค้าทั่วไป  และมีหลากหลายรูปแบบให้เลือก

 

ภาพที่ 10

 

ปัญหาอย่างที่ 4  แก้ไขปัญหาสายไม่ว่างเมื่อมีการเรียกใช้งานพร้อมกัน  การแก้ไขปัญหาในลักษณะนี้  ต้องใช้อุปกรณ์ที่ทำงานในลักษณะของ Sip Server เพียงอย่างเดียว  โดยหากท่านใช้ Vigor 3510 แล้ว  เวลามีการเรียกใช้สายพร้อมกัน  ท่านสามารถกำหนดได้ว่าหาก Sip Trunk 1 ไม่ว่า  ให้เรียกใช้งานผ่าน Sip Trunk 2 หรือ 3 ตามลำดับ  ซึ่งแน่นอนว่าบริการ VOIP ของ Voice Provider ในบ้านเรานั้นมีราคาถูกก็จริง  แต่มีล่มบ้างเหมือนกันนะครับ  ไม่ใช่ไม่มี  แต่จากสถิติที่ผู้เขียนใช้งานมานั้น  ก็ถือว่าทุกค่ายอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้  ซึ่งหากท่านทำ Dial-out Hunging ที่ Vigor 3510 แล้ว  เวลา VOIP ค่ายใดล่ม  อุปกรณ์ก็จะสลับให้มาใช้ของอีกค่ายในทันที  เช่น  หาก Sip Trunk 1 เชื่อมต่อเข้ากับ TOT Net Call เวลา TOT Net Call ล่ม  ก็สามารถเชื่อมต่อผ่าน Sip Trunk 2 ซึ่งเชื่อมต่อ Ji-Net Mouthmun ได้เป็นต้น

 

ภาพที่ 11

 

หากพิจารณาจากกระบวนการของการแปลงสัญญาณเสียง  เป็นคำสั่งในระบบคอมพิวตอร์แล้ว  อรรถประโยชน์ที่เกิดขึ้น  อาจมาจากการเรียนรู้คำว่า  เร็ว  ช้า  หนัก  เบา  รุก  และรับ  ตามจังหวะและโอกาส  การถอยมิใช่การพ่ายแพ้  สุดยอดกลยุทธ์ที่ขงเบ้งเอาชนะโจโฉได้ที่เมืองกันตั๋ง  ทั้งที่มีไพร่พลน้อยกว่าหลายสิบเท่า  คือการหนี  การยอมแพ้  มิใช่ความพ่ายแพ้  บางครั้งการแพ้  นอกจากเพื่อชนะใจตนเองแล้ว  อาจได้มาซึ่งชัยชนะหลายอย่างที่คาดไม่ถึง ..... ความพ่ายแพ้  อาจได้มาซึ่งความพยายาม  และการก้าวเดินต่อไปข้างหน้า  หากปัญหาหลายๆ อย่างที่กำลังจะเกิดขึ้น  ทั้งปัญหาความขัดแย้ง  ปัญหาบ้านเมือง  ปัญหาชีวิต  หรือเศรษฐกิจ ฯลฯ  หากยุดคิดสักนิด  เพื่อให้เกิดปัญญา  ปัญหาทุกอย่างอาจคลี่คลายลงได้  ดังคำของเล่าจื้อที่ว่า  "สมปรารถนาในทุกสิ่ง  โดยการหยุดนิ่ง"  ขอโลกใบนี้มีแต่ความสันติ

 

อย่าทุ่มเททุกสิ่งเพื่อ บุคคล หรือ ปณิธาน เพียงอย่างหนึ่งอย่างใด เผื่อใจไว้สัก 10% ก็ยังดี

 

จากคุณ : NickService.Com [21 กุมภาพันธ์ 2554 - 17:01:39]  

HOME  |  SOLUTION  |  PRODUCT  |  SPEED TEST  |  Check IP WAN  |  CONTACT US

© 2007 NJ Network Co.,Ltd.  TEL. 02-2497910